วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติผู้แต่ง

ประวัติผู้แต่ง
มหาเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์


1.เจ้าพระยาพระคลัง(หน)

ประวัติ

เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้ เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ ๒, เจ้าจอมมารดานิ่ม พระมารดาสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ ๒, นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวีและครูพิณพาทย์ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นต้นสกุล บุญ-หลง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และถึงแก่อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๔๘ ผลงานด้านวรรณคดีที่ท่านได้แต่งไว้หลายเรื่องด้วยกัน

 พระราชนิพนธ์ ในมหาเวสสันดรชาดก 2 กัณฑ์ คือ มัทรี กุมาร

2. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
พระประวัติ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนามเดิม พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ รวมพระชนมายุ ๖๔ พรรษา งานพระนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่ ตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ ลิลิตตะเลงพ่าย สมุทรโฆษคำฉันท์ ทรงนิพนธ์ต่อจากพระมหาราชครูและสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งค้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๑๑ กัณฑ์ เว้นกัณฑ์มหาพนและกัณฑ์มัทรี เพราะทรงเห็นว่าพระเทพโมลี (กลิ่น) และเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งกัณฑ์มัทรีไว้ดีแล้ว
 พระราชนิพนธ์ ในมหาเวสสันดรชาดก 4 กัณฑ์ คือ ทศพร หิมพานต์ มหาราช นครกัณฑ์
3. พระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัวฯ
พระประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ
 พระราชนิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก 3 กัณฑ์ คือ วนปเวสนื จุลพน สักบรรพ

4. พระเทพโมลี ( กลั่น )
ประวัติ
พระเทพโมลี (กลิ่น) ท่านเกิดเมื่อประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๒๘๓ รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีเชื้อสายรามัญ ท่านบรรพชา-อุปสมบท วัดตองปุ อยุธยา สมัยพระเจ้าเอกทัศน์เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ท่านพระมหาศรี พระขุน พระเทพโมลี ครั้งเป็นพระกลิ่น หลบภัยข้าศึก ล่องลงมาทางใต้ ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านและคณะกลับมาอยู่วัด
กลางนา(วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม)กรุงเทพฯต่อมาทราบข่าวพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ เป็นที่พระญาณสังวรเถร ทั้งสามท่านจึงตามมาอยู่วัดพลับ เรียนขอเล่าเรียน พระกรรมฐานมัชฌิมา แบลลำดับด้วยประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๒๘ พระมหากลิ่น และคณะ ทราบว่าพระอาจารย์สุก มาสถิตวัดพลับ ทรงเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐาน ท่าน และคณะซึ่งเป็นเชื้อสายรามัญ จึงได้เข้าไปกราบนมัสการขออนุญาต พระมหาสุเมธาจารย์เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางนา (วัดตองปุ หรือวัดชนะสงคราม) ซึ่งเป็นพระสงฆ์นิกายรามัญ เพื่อมาศึกษาพระกรรมฐานในสำนักพระญาณสังวรเถร (สุก)
 นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก 1 กัณฑ์ คือ มหาพน


5. สำนักวัดถนน
ประวัติ
นายทองอยู่ เกิดที่บ้านไผ่จำศีล อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่ออายุ 10-11 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ได้ผ่านวัดอยู่วัดหนึ่ง เรียกว่า “วัดถนน” จึงได้พักอยู่วัดนี้ ได้อุปสมบท เรื่อยมา ท่านทองนับว่าเป็นสถาปนิกชั้นเยี่ยม ท่านได้สร้างเจดีย์ที่งดงาม รวมถึงได้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทานกัณฑ์แล้ว ยังแต่งบททำขวัญนาคไว้อย่างไพเราะอีกด้วย
 นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก 1 กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์

6. สำนักวัดสังข์จาย
ประวัติ
สำนักวัดสังข์กระจายเป็นชื่อสำนักที่ท่านผู้แต่งบวชอยู่ วัดนี้อยู่ลิมคลองบางกอก เป็นวัดโบราณ ส่วนท่านผู้แต่งกัณฑ์ชูชกนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงนุภาพทรงสันนิษฐานว่า คือ พระเทพมุณี(ด้วง) แต่ประวัติของท่านยังไม่เป็นที่แน่ชัด ในพ.ศ. 2332 คราวเกิดอสุนีบาตตกต้องมุขพระที่นั่งอินทราภิเศกมหาปราสาทติดเป็นเพลิงไหม้ขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟจุฬาโลกมหาราชทรงพระแสงของ้าวเร่งข้าราชการดับเพลิงจนสงบ แล้วทรงปริวิตกว่าเห็นจะเป็นอัปมงคลนิมิตรแก่บ้านพระราชาคณะที่เป็นปราชญ์ ต่างได้ลงชื่อถวายชัยมงคล ซึ่งรายนามพระสงฆ์ที่ถวายพระพรครั้งนั้นมีพระเทพมุณีวัดสังข์กระจายด้วยรูปหนึ่ง นอกจากนี้ พระเทพมุณีรูปนี้ยังถวายเทศน์กัณฑ์ชูชกในรัชกาลที่ ทั้งยังเคยถวายแก้ข้อกังหาปัญหาธรรมและพระราชปุจฉาในรัชกาลที่ 1 อีกด้วย
 นิพนธ์ในมหาเวสสันดรชาดก 1 กัณฑ์ คือ ชูชก